ประวัติของโรงเรียน

                โรงเรียนลืออำนาจวิทยาคม ตั้งอยู่เลขที่ 122 หมู่ 6 ตำบลลืออำนาจ อำเภอลืออำนาจ  จังหวัดอำนาจเจริญ    ได้รับอนุมัติจัดตั้งเป็นโรงเรียนมัธยมศึกษา โดยประกาศกระทรวงศึกษาธิการ ลงวันที่22 มีนาคม2520 สถานที่ตั้งโรงเรียนได้รับบริจาคที่ดินจาก นายวิเชียร อุดมสันต์  และนายประสพ  สมบูรณ์  มีเนื้อที่ทั้งหมด 27 ไร่ 2 งาน 40 ตารางวา เปิดสอนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น มัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนเปิดทำการสอนครั้งแรกปีการศึกษา 2520 มีนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 54 คน จัดเป็น 2 ห้องเรียน อาศัยอาคารเรียนของโรงเรียนชุมชนบ้านอำนาจ โดยมีนายวิโรจน์ วันชัย อาจารย์ใหญ่โรงเรียนชุมชนบ้านอำนาจ ขณะนั้นรักษาการในตำแหน่งครูใหญ่ ต่อมาเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2520 กรมสามัญศึกษาได้แต่งตั้งให้ นายเรืองฤทธิ์ วรจิต อาจารย์ 1 โรงเรียนอำนาจเจริญ มาดำรงตำแหน่งครูใหญ่และอาจารย์ใหญ่ตามลำดับ จนกระทั่งปีการศึกษา 2528   กรมสามัญศึกษาได้แต่งตั้งให้    นายวีระพล  เวชพันธ์ อาจารย์ใหญ่โรงเรียนอ่างศิลา มาดำรงตำแหน่งแทน  จนถึงปีการศึกษา  2536  และกรมสามัญศึกษา ได้แต่งตั้งให้  นายปิยเทพ สกุลจาป อาจารย์ใหญ่โรงเรียนไผ่ใหญ่ศึกษา มาดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่และ  ผู้อำนวยการตามลำดับ ต่อมาเดือนมีนาคม 2539 กรมสามัญศึกษาได้แต่งตั้งนายบุญศรี  เชื้อพงษ์    อาจารย์ใหญ่โรงเรียนสะพือวิทยาคารมาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ  โรงเรียนจนถึงเดือนตุลาคม  2543  และกรมสามัญศึกษา ได้แต่งตั้งให้  นางวันเพ็ญ  คำภู  ผู้อำนวยการโรงเรียนกุดข้าวปุ้นวิทยา  มาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน  ต่อจากนั้นปี พ.ศ. 2547ได้แต่งตั้งให้ นายไพฑูรย์   ขันแก้ว  มาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนจนถึงปี  2552  นายสำเร็จ  ธงศรี  ได้แต่งตั้งให้มาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการจนถึงปัจจุบัน ปีการศึกษา 2533 ได้เปิดสาขาโรงเรียนที่ตำบลแมด มีนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 1 ห้องเรียน 30 คนและประกาศตั้งเป็นโรงเรียนมัธยมประจำตำบลแมด เมื่อเดือนมิถุนายน 2540ปีการศึกษา 2535 ได้รับอนุมัติจากกรมสามัญศึกษาเปิดสอนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย และในวันที่ 3 สิงหาคม 2535 กระทรวงศึกษาธิการได้พิจารณาและอนุญาตให้โรงเรียนเปลี่ยนชื่อโรงเรียนจากโรงเรียนอำนาจวิทยาคม เป็นโรงเรียนลืออำนาจวิทยาคม

ที่ตั้งโรงเรียน
สถานที่ตั้งโรงเรียนได้รับบริจาคที่ดินจาก  นายวิเชียร  อุดมสินต์  และนายประสพ  สมบูรณ์  มีเนื้อที่ 27 ไร่  2 งาน   4  ตารางวา  เปิดสอนระดับช่วงชั้นที่ 3  และช่วงชั้นที่ 4  สถานที่ตั้งของโรงเรียนห่างจากอำเภอเมืองอำนาจเจริญ   เป็นระยะทางประมาณ  25 กิโลเมตร  และโรงเรียนตั้งห่างจากถนนชยางกูร  ประมาณ 800 เมตร  เป็นถนน ร.พ.ช. ปัจจุบันลาดคอนกรีต  การเข้าโรงเรียนมีรถยนต์และรถจักรยานยนต์รับจ้างจากทางแยกเข้าโรงเรียน
ในเขตพื้นที่บริการของโรงเรียนมีสถานีอนามัย 3 แห่ง  สถานีตำรวจภูธร 1 แห่ง  โรงพยาบาล 1 แห่ง  ห้องสมุดประชาชน 1 แห่ง

ปรัญชาของโรงเรียน

เรียนดี  มีวินัย  ใฝ่คุณธรรม

คติพจน์

ปญญา  โลกส  สมิ  ปชโชโต
ปัญญา  คือ  แสงสว่างส่องทางโลก

สีประจำโรงเรียน

เขียว – ขาว

สีเขียว  หมายถึง  ความอุดมสมบูรณ์  ความเจริญงอกงาม
สีขาว  หมายถึง  ความใสสะอาดบริสุทธิ์  ความดีงาม

อักษรย่อ

ล.อ.ว.


ตราสัญลักษณ์ของโรงเรียน
รัศมี 9 แฉก  อยู่บนปลายยอดเลข 9 ซึ่งมีฐานเป็นใบตาล  มีฐานดอกบัวรองรับอีกชั้น  ด้านล่างเป็นชื่อโรงเรียนในแทบแพรสีม่วง
รัศมี 9 แฉก  หมายถึง  ความเจริญรุ่งเรือง
เลข 9 หมายถึง  รัชกาลปัจจุบัน
ใบตาล  หมายถึง  ต้นตาล 3 ต้น  ที่เป็นต้นไม้ประจำโรงเรียน  แสดงถึงสถาบันครอบครัว  ซึ่งประกอบด้วย  พ่อ  แม่และลูก
ดอกบัว  หมายถึง  ศีลธรรม  คุณธรรม  จริยธรรมที่ดีงาม  และแสดงถึงอดีตที่เป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดอุบลราชธานี
แถบแพรสีม่วง  หมายถึง  จังหวัดอำนาจเจริญ  ซึ่งมีสีม่วงเป็นสีประจำจังหวัด

   ข้อมูลการศึกษา

โรงเรียนเปิดสอนครั้งแรกปีการศึกษา 2520 มีนักเรียนรุ่นแรก 54 คน  จัดเป็น 2 ห้องเรียน  อาศัยอาคารเรียนของโรงเรียนชุมชนบ้านอำนาจ (โรงเรียนอนุบาลลืออำนาจ  ปัจจุบัน) โดยมีนายวิโรจน์  วันชัย  อาจารย์ใหญ่โรงเรียนชุมชนบ้านอำนาจในขณะนั้นรักษาการในตำแหน่งครูใหญ่
ปีการศึกษา 2524 โรงเรียนได้ร่วมโครงการผู้นำการใช้หลักสูตรของการศึกษา 10
ปีการศึกษา 2528 โรงเรียนเข้าร่วมโครงการการแนะแนวอาชีพ  ร่วมกับโรงเรียนชุมชนเปือยหัวดง
ปีการศึกษา 2528 โรงเรียนเข้าโครงการ มพช.2 รุ่น 3  ได้งบประมาณก่อสร้างอาคารเรียนและอาคารประกอบเพิ่มเติม
ปีการศึกษา 2534 ได้เปิดสาขาโรงเรียนที่ตำบลแมด  อำเภอลืออำนาจ  มีนักเรียน ม.1 จำนวน 1 ห้องเรียน 30 คน  มีโรงเรียนประถมในเขตพื้นที่บริการ 5 โรงเรียน  คือ

  1. โรงเรียนประชาสามัคคี  ตำบลแมด  อำเภอลืออำนาจ
  2. โรงเรียนบ้านเหล่าฝ้ายศาลาสามัคคี  ตำบลแมด  อำเภอลืออำนาจ
  3. โรงเรียนบ้านน้ำซับ  ตำบลแมด  อำเภอลืออำนาจ
  4. โรงเรียนบ้านจอก  ตำบลดงบัง  อำเภอลืออำนาจ
  5. โรงเรียนบ้านไร่โนนสมบูรณ์  ตำบลไก่คำ  อำเภอเมืองอำนาจ

   ข้อมูลด้านอาคารสถานที่

ปัจจุบันโรงเรียนมีสิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ ดังนี้

  1. อาคารเรียนถาวร 3 หลัง  ได้แก่
    1.1  อาคาร 216 ค   1  หลัง
    1.2  อาคาร 217      1  หลัง
    1.3  อาคาร  318     1  หลัง
  2. อาคารประกอบ  ได้แก่
    2.1  อาคารฝึกงานอุตสาหกรรม   1  หลัง
    2.2  อาคารฝึกงานเกษตรกรรม    1  หลัง
    2.3  อาคารฝึกงานคหกรรม         1  หลัง
    2.4  หอประชุม                           1  หลัง
    2.5  โรงอาหาร                           1  หลัง
    2.6  ห้องน้ำห้องส้วมนักเรียน        3  หลัง
    2.7  บ้านพักครู                          6  หลัง
    2.8  บ้านพักนักการ                   0  หลัง
    2.9  พุทธสถาน                         1  หลัง
    (ได้รับบริจาคจากนางนิตยา  อารยะวงค์ชัย  เมื่อเดือนธันวาคม 2536)

ทำเนียบผู้บริหาร

ที่ ชื่อ ตำแหน่ง ปีการศึกษา
1 นายวิโรจน์  วันชัย  รักษาการในตำแหน่งครูใหญ ปีการศึกษา  2520
2 นายเรืองฤทธิ์  วงจิต ครูใหญ่ – อาจารย์ใหญ (1 พฤศจิกายน 2520-2528)
3 นายวีระพล  เวชพันธ์  อาจารย์ใหญ (ปีการศึกษา 2528-2536)
4 นายปิยเทพ  สกุลจาป  ผู้อำนวยการ  (ปีการศึกษา 2536-2538)
5 นายบุญศรี  เชื้อพงษ์ ผู้อำนวยการ  (ปีการศึกษา 2538-2543)
6 นางวันเพ็ญ  คำภู   ผู้อำนวยการ  (ปีการศึกษา 2543- 2548)
7 นายไพฑูรย์  ขันแก้ว  ผู้อำนวยการ (ปีการศึกษา 2548- 2552)
8 นายสำเร็จ   ธงศรี            ผู้อำนวยการ (ปีการศึกษา 2552 –2556)
9 นายพิศาล จันทป ผู้อำนวยการ (ปีการศึกษา 2556 –2561)
10 นายจำรัส โสภา ผู้อำนวยการ (ปีการศึกษา 2561 –2561)
11 นายอชิระ วิริยสุขหทัย  ผู้อำนวยการ (ปีการศึกษา 2561 –2563)
12 นายบุญลือ โกมลศรี ผู้อำนวยการ (ปีการศึกษา 2563 –ปัจจุบัน)

 

อัตลักษณ์

          ยิ้มไหว้  ทักทาย  อ่อนน้อม
เอกลักษณ์
ภูมิทัศน์ร่มรื่น  น่าอยู่  ควบคู่ความพอเพียง
วิสัยทัศน์
ภายในปี 2570 ผู้เรียนมีคุณธรรม นำความรู้ คู่ความเป็นไทย ก้าวไกลสู่มาตรฐานสากล บนพื้นฐานหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
พันธกิจ 
1.พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาให้หลากหลายตามโรงเรียนมาตรฐานสากล บนสมรรถนะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21
2.พัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันเพื่อเข้าสู่เวทีนานาชาติ
3. พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีความรู้ ทักษะตามมาตรฐานวิชาชีพ และบริหารจัดการด้วยรูปแบบLUES Model
4. สร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านการศึกษา ใช้แหล่งเรียนรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น อนุรักษ์ความเป็นไทย และพัฒนาทักษะอาชีพเพื่อการมีงานทำ
5. พัฒนาสิ่งแวดล้อมให้มีความปลอดภัย สร้างบรรยากาศให้เอื้อต่อการเรียนรู้ ควบคู่การใช้เทคโนโลยีและสารสนเทศ
เป้าประสงค์
1. ครูจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรมาตรฐานสากล
2. ผู้เรียนมีทักษะการเรียนรู้และทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21
3. โรงเรียนได้รับการยอมรับจากชุมชน เครือข่ายความร่วมมือและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
4. ครูและเครือข่ายด้านการศึกษาส่งเสริมการทำวิจัย ใช้ผลการวิจัย เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่องตามมาตรฐานสากล
5. ผู้เรียนมีความสามารถด้านการแข่งขันความรู้และทักษะในระดับต่าง ๆ
6. สถานศึกษามีความปลอดภัย บรรยากาศเอื้อต่อการเรียนรู้ ใช้เทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอนและการบริหารจัดการ
กลยุทธ์
1. สถานศึกษาใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหาร ลดความเหลื่อมล้ำในทุกมิติและใช้เทคโนโลยีในการบริหารจัดการ
2. ใช้นวัตกรรมทางการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาและหลักสูตรสถานศึกษา ให้สอดรับกับความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกยุคปัจจุบัน
3. สร้างเครือข่ายความร่วมมือเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา
4. ครูและบุคลากรทางการศึกษาใช้การวิจัยในการจัดการเรียนการสอน ภายใต้กระบวนการนิเทศติดตาม
5. ดำเนินการตามนโยบายกระทรวงศึกษาธิการ ด้านความปลอดภัยและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม สร้างค่านิยมที่ดีในการเป็นพลเมืองดิจิทัล