เอื้องกุหลาบแดง



          เมื่อเรามาลองเอ่ยถึงคำว่า กุหลาบแดง หลาย ๆ คนคงนึกโยงไปถึงกุหลาบสีแดงที่เป็นเครื่องหมายแห่งของวันความรักในวันวาเลนไทน์ ผิดแล้วครับ วันนี้เราจะมาเอ่ยถึงกล้วยไม้ชนิดหนึ่ง ที่ใช้ชื่อว่า กุหลาบแดง กัน Aerides crassifolia เป็นชื่อวิทยาศาสตร์สกุลกุหลาบของกล้วยไม้ชนิดนึ้ เรารู้จักกันในนาม เอื้องกุหลาบแดง หรือเรียกกันห้วนๆว่า กุหลาบแดง กล้วยไม้ชนิดนี้เติบโตและกระจายสายพันธุ์เกือบทุกภาคพื้นที่ของป่าในประเทศไทยเรา เอื้องกุหลาบแดง มักขึ้นตามคาคบไม้สูง แต่บางครั้งเราก็พบว่ามันชอบเติบโตบนกิ่งก้านต้นไม้ที่ต่ำเพียงมือเอื้อมถึงเช่นกัน



          ด้วยสีสันที่แดงจัดจ้านสมชื่อของมัน เอื้องกุหลาบแดง จึงเป็นกล้วยไม้สกุลกุหลาบอีกชนิดหนึ่งที่เป็นที่ชื่นชอบของนักนิยมกล้วยไม้มากมายทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ แต่ด้วยลักษณะทรงช่อที่ตีห่างไม่สมส่วนกับจำนวนดอกบนก้านช่อ เอื้องกุหลาบแดง จึงไม่เป็นที่นิยมในด้านการพัฒนาสายพันธุ์
          ลักษณะพิเศษประจำสกุลของ เอื้องกุหลาบแดง คือ มีเดือยดอกเรียวแหลมหรือปลายงอนออกมาทางด้านหน้าของดอก ลำต้นเตี้ยล่ำ ใบใหญ่สั้นหนาสีเขียวปนแดง สีแดงจะเข้มขึ้นในช่วงแห้งแล้ง ใบกว้างราว 1.5-2.0 เซนติเมตร ยาวราว 10-18 เซนติเมตร ผิวใบอาจย่นตามขวางของใบ ใบเรียงสลับระนาบเดียว ลำต้นเจริญทางปลายยอด ช่อดอกโค้งลงยาวใกล้เคียงกับใบ มีดอกช่อละ 10-20 ดอก ขนาดดอกกว้าง 2-3 เซนติเมตร กลีบดอกสีชมพู-ม่วงแดง ส่วนปากดอกสีเข้ม กลีบในบิดไปด้านหลัง ดอกมีกลิ่นหอม บานช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคม ลักษณะเด่น คือกลีบดอกนอกคู่ล่างกว้าง ปากแบะยื่น เดือยดอกยาว เห็นชัดเจน ปลายเดือยงอนขึ้น และไม่อยู่ใต้ปลายปาก เอื้องกุหลาบแดง พบตามธรรมชาติ ในป่าแล้งภาคเหนือ ภาคอีสานและภาคตะวันออกของไทย รวมทั้งจังหวัดนครนายกและกาญจนบุรี นอกจากนี้ยังพบในประเทศ พม่า ลาว และเวียดนาม



          เอื้องกุหลาบแดง เป็นกล้วยไม้สกุลกุหลาบที่มีดอกขนาดใหญ่กว่ากล้วยไม้กุหลาบชนิดอื่นๆ ชาวยุโรปนิยมชมชอบ เอื้องกุหลาบแดง มากเป็นพิเศษ จนให้สมญานามว่า "ราชาแห่งสกุลกุหลาบ" แม้แต่ในกรุงเทพฯ ก็ยังปลูกได้ เจริญเติบโตดีมาก เอื้องกุหลาบแดง สามารถผสมข้ามสกุลกับกล้วยไม้สกุลแวนด้า และสกุลช้างได้อีกด้วย



          วิธีปลูกเลี้ยง เอื้องกุหลาบแดง
          - เมื่อเราได้รับต้นของ เอื้องกุหลาบแดง มาแล้วเราสามารถปลูกลงในกระเช้าแขวน หรือ นำแปะติดขอนไม้ก็ได้ครับ โดยจับลำของ เอื้องกุหลาบแดง แขวนไว้ในที่ร่มรำไรรดน้ำเช้าหรือเย็นเพียงเวลาเดียว ในช่วงที่รากยังไม่แตกดีให้เรานำ บี1 มาผสมกับน้ำในปริมาณที่เหมาะสมและฉีดพ่นสัปดาห์ละหนึ่งครั้ง เอื้องกุหลาบแดง จะแตกรากง่ายขึ้นครับ
          - เมื่อเอื้องกุหลาบแดง เริ่มตั้งตัวได้ดีแล้ว สังเกตุจากมีรากพันรอบกระเช้าหรือรากพันแน่นบนขอนไม้ที่เราปลูก ให้เราลองค่อย ๆ ขยับ เอื้องกุหลาบแดง ของเราออกมาให้ได้รับแสงบ้าง โดยให้ได้รับแสงในช่วงเช้าตรู่ราว ๆ 6 โมง - 9 โมง เช้า หรือ ให้ได้รับแสงเย็นช่วง 4 - 6 โมงเย็น เพื่อให้ เอื้องกุหลาบแดง ได้สังเคราะห์แสงและกับเก็บอาหารได้มากขึ้นเพื่อใช้ในการผลิดอกครั้งต่อไป
          - เอื้องกุหลาบแดง ที่ได้รับแสงเหมาะสมจะให้ดอกตรงฤดูกาลทุกปี หาก เอื้องกุหลาบแดง ของคุณไม่ยอมให้ดอกให้ลองพิจารณาว่าบริเวณที่เราแขวน เอื้องกุหลาบแดง ไว้นั้นได้รับแสงเพียงพอหรือไม่ดูครับ
          - การให้ปุ๋ย จะให้ปุ๋ยทุกสัปดาห์โดยใช้สูตรปุ๋ยเสมอ 21-21-21 เป็นหลักครับ หากหมั่นให้ปุ๋ยทุกสัปดาห์แล้ว เอื้องกุหลาบแดง จะแตกกอให้ใบและดอกย้อยเป็นพวงสวยงามเลยทีเดียวครับ
          - การให้น้ำ เอื้องกุหลาบแดง เรามักให้เพียงเวลาเดียวคือช่วงเช้าตรู่ หรือ ช่วงเย็นจัด เท่านั้น ควรหลีกเลี่ยงรดน้ำช่วงเวลา หลัง 8 โมงเช้า เพราะน้ำที่รด จะไปขังอยู่ในกาบใบของกล้วยไม้เราและเมื่อเจอกับแดดร้อน ๆ ในบ้านเราเข้าไป น้ำที่ขังจะเริ่มอุ่นและทำให้ใบของ เอื้องกุหลาบแดง หรือกล้วยไม้ที่เราเลี้ยงใบช้ำเหลืองและเน่าเสียได้


เว็บไซต์นี้แสดงผลได้ดีใน Google Chrome

ออกแบบและพัฒนาโดย : นางสาวบุญจิรา โสนาคา และ นางสาวนลินี ทับพวง
ควบคุมการฝึกซ้อมโดย : นางนภาพร บัวทอง และ นางสาวเยาวเรศ ภูหมั่นเพีนยร
โรงเรียนลืออำนาจวิทยาคม อำเภอลืออำนาจ จังหวัดอำนาจเจริญ
สำหนังานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29
เว็บไซต์โรงเรียน : www.lueamnat.ac.th