เอื้องคำ



          เอื้องคำ ( Dendrobium chrysotoxum ) ลักษณะทั่วไป: เป็นกล้วยไม้อิงอาศัย โดยมากพบบนคาคบไม้ ลำต้น โคนเล็กลำลูกกล้วยป่องตรงกลาง เป็นรูปกระสวย สูงประมาณ๑๕-๓๐ ซม. พื้นผิวลำลูกกล้วยมักเป็นร่องหรือ หลายร่อง มีสีเหลือง หรือบางครั้ง สีเหลืองเข้ม เจือน้ำตาลแดง ใบ เกิดที่ปลายรูปไข่ สีเขียวเข้ม มีประมาณ ๒-๕ใบ ใบยาวประมาณ๑๐-๑๕ ซม. ดอก ออกเป็นช่อ จากตาดอกบริเวณส่วนปลายลำลูกกล้วย ก้านดอกแข็ง มักห้อยโค้ง ลง หรือชี้ไปทางด้านข้าง ช่อดอกยาวประมาณ ๒๐-๓๐ ซม. กลีบดอกสีเหลืองสด มีแต้มสีเหลืองเข้มปนน้ำตาลเรื่อๆ อยู่ส่วนในของ กลีบปากบริเวณสองข้างของแผ่นกลีบปาก ( side lope ) ขนาดดอกประมาณ ๕ ซม. ฤดูดอก กุมภาพันธ์-พฤษภาคม



          ถิ่นกำเนิดตามธรรมชาติในประเทศไทย
          แหล่งกระจายพันธุ์ ในภูมิภาค: เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ อินเดีย เมียนม่าร์ ลาว จีนตอนใต้ เวียตนาม (ดาลัด เว้ อันนัม)ในภาคเหนือ เมื่อถึงเทศกาลสงกรานต์ ซึ่งเป็นเทศกาลที่ เอื้องคำ บานได้เหมาะเจาะพอดี หญิงสาวชาว เหนือ จะใช้ดอกของ เอื้องคำ เหน็บไว้ที่ผมมวย หรือบางครั้งก็จะมีการนำ เอื้องคำ และ เอื้องผึ้ง มาใส่พานดอกไม้ถวาย พระ เนื่องจากมีสีมงคลเช่นเดียวกับจีวรของพระสงฆ์เนื่องจาก เอื้องคำ เป็นกล้วยไม้ที่ชอบแสงมาก จึงขึ้นอยู่ตามคาคบไม้สูงในธรรมชาติ หรือ บริเวณที่ที่มีแสงตก กระทบมาก ๆ ซึ่งจะพบมากตามป่าเขาทางภาคเหนือ ซึ่งปัจจุบันก็ยังมีให้พบเห็นอยู่บ้างประปราย แต่จะพบเฉพาะ บริเวณที่ที่ห่างไกลชุมชน หรือ หมู่บ้านชาวเขาเท่านั้น ต่างจากอดีตที่พบเห็น เอื้องคำ ได้ทั่วไปตามไหล่ทางขึ้นเขา



          เมื่อไม่กี่ปีมานี้เอง มีกระแสฮือฮากันเรื่อง เอื้องคำตาดำ ซึ่งกลาย เป็น เอื้องคำ ที่มีผู้คนสนใจมากที่สุด หลายคนเล่าว่า ช่วงที่ เจ้าตาดำ เข้ามานี้ สามารถถีบราคาได้หลายพันบาท และในที่สุด เมื่อมีการค้า กล้วยไม้กระสอบกันมากขึ้น เอื้องคำตาดำ จากราคาหลักพัน ก็เหลือ เพียงหลักร้อยในเวลาอันรวดเร็ว และยังมีการนำ เอื้องคำ ธรรมดา นำมาหลอกปนขายในช่วงนั้นอีกด้วย ยุคทองของ เอื้องคำตาดำ ตอน นั้น จึงมีเกลื่อนเต็มท้องตลาด ซึ่งเหล่าผู้ซื้อ ก็ไม่อาจทราบได้ว่าดำแท้ หรือไม่ ได้เพียงแต่รอคอยการให้ดอกของมันเท่านั้น ลักษณะโดยทั่วไปของ เอื้องคำตาดำ หากดูต้น ลักษณะทั้งหมด จะเหมือน เอื้องคำ ธรรมดาทุกประการ ต่างกันเพียงดอกของเท่านั้นเอื้องคำตาดำ จะมีลักษณะของดอกที่ใหญ่กว่า ประมาณ ๑.๕ เท่า ของดอกเอื้องคำบ้านเรา มีตาสีดำคล้ำตรง ปากของดอก และเป็นเอื้องคำที่ชอบอากาศเย็นมากกว่า เอื้องคำ ของบ้านเรา แต่บางพื้นที่อย่างเชียงใหม่ และภาค อีสาน ก็ยังสามารถเลี้ยง เอื้องคำตาดำ ได้อยู่ดี นอกจากนี้ยังทราบจากผู้ที่เคยซื้อไม้ป่ามาซึ่งเล่าว่า บางครั้งซื้อ เอื้องคำตาดำ มา ก็มักจะได้ เอื้องคำ ธรรมดาติดมาด้วย แต่ว่า เอื้องคำทางฝั่งพม่าจะดอกใหญ่กว่า เอื้องคำ ทาง บ้านเรามาก และสีก็ดุเดือดกว่า ซึ่งจะจริงหรือไม่นั้นก็ต้องใช้วิจารณยานกันเองนะครับ



          การปลูกเลี้ยงเอื้องคำ
          การปลูก เอื้องคำ หากต้องการปลูกติดกับขอนไม้ ให้เรานำขอนไม้ที่เราต้องการปลูกติดนั้นมาล้างให้สะอาด เพราะขอนไม้อาจมีไข่แมลงฝังอยู่ หรือปนเปื้อนทราย หลังจากล้างน้ำจนสะอาดแล้วให้นำ กาบมะพร้าวที่ผ่านการ แช่น้ำไว้แล้วอย่างน้อย ๒ วัน มาวางขั้นระหว่าง เอื้องคำ กับ ขอนไม้ แล้วใช้เชือกฝางมัดให้แน่น อย่าใช้ลวด เพราะ ลวดจะบาดลำของ เอื้องคำ หักได้ เหตุผลที่ต้องมีกาบมะพร้าวรองก็เพราะว่า กาบมะพร้าวจะเป็นเครื่องปลูกเพิ่ม ความชื้นให้กับเอื้องคำได้ ทำให้รากแตกใหม่เร็ว และเจริญงอกงามได้เร็วกว่าการติดบนขอนไม้โดยไม่มีอะไรวาง ขั้นเลย
          การปลูกลงในกระเช้า ให้ใช้ถ่านรองก้นภาชนะปลูกก่อน แล้วจึงนำกาบมะพร้าวสับชิ้นใหญ่มาวางทับอีกครั้ง แล้วนำ เอื้องคำ นั่งทับอยู่ชั้นบนสุด ให้ใช้เชือกยึดเอื้องคำกับกระเช้าให้แน่น เพื่อให้รากชิดกับเครื่องปลูกมากที่สุด ซึ่งเป็นผลดีคือ รากได้รับความชื้นสม่ำเสมอ ทำให้รากใหม่แตกเร็ว ต้นไม่โครงเครง กล้วยไม้ตั้งตัวเร็วครับการให้ปุ๋ย ที่ Orchidtropical จะให้ปุ๋ยไม่เป็นสูตรครับ แล้วแต่ จะประยุคส่วนใหญ่ จะเป็นสูตรเสมอ ๒๑-๒๑-๒๑ เสร็จแล้ว อาทิตย์ต่อไปก็จะใช้ตัวกลางสูงอาทิตย์ต่อจากนี้ก็สูตรเสมอ และต่อจากนี้ก็จะท้ายสูง แล้วกลับไปใช้สูตร เสมออีก วน เวียนอยู่แบบนี้จนกระทั่งมีดอก ซึ่งก็ได้ผลดี ให้ดอกสวย ลำต้น และใบงอกงาม ดีทีเดียวครับ ลองประยุคต์และปรับเปลี่ยนดู


เว็บไซต์นี้แสดงผลได้ดีใน Google Chrome

ออกแบบและพัฒนาโดย : นางสาวบุญจิรา โสนาคา และ นางสาวนลินี ทับพวง
ควบคุมการฝึกซ้อมโดย : นางนภาพร บัวทอง และ นางสาวเยาวเรศ ภูหมั่นเพีนยร
โรงเรียนลืออำนาจวิทยาคม อำเภอลืออำนาจ จังหวัดอำนาจเจริญ
สำหนังานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29
เว็บไซต์โรงเรียน : www.lueamnat.ac.th